คำว่า “ประกันสังคม” หลายคนคงเคยได้ยินมาหนาหู แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จริงๆ แล้วมันคืออะไร วันนี้จะพามาทำความรู้จัก กับ ประกันสังคม ในหมวกของ มาตรา 39 กัน

ประกันสังคม เป็นสวัสดิการที่ทางรัฐมอบให้แก่ลูกจ้าง โดยลูกจ้างและนายจ้างต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมาย โดยจะทำการหักเงินจากฐานเงินเดือน 5% สูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน เป็นการสร้างหลักประกันสังคมในการดำรงชีวิตของสมาชิกที่มีรายได้ ซึ่งประกันสังคมหรือระบบประกันสังคมนั้นมีมานานแล้วในต่างประเทศ แต่ประเทศไทยพึ่งเข้ามาเมื่อปี พ.ศ. 2480 อย่างไรก็ตามประเทศไทยเริ่มมีสำนักงานประกันสังคม เพื่อให้บริการประกันสังคมอย่างเต็มรูปแบบเมื่อ 2 กันยายน พ.ศ. 2533 ในการคุ้มครองลูกจ้างจากการเจ็บป่วย ทั้งที่เกิดขึ้นจากการทำงานและนอกเหนือจากการทำงาน ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับประกันสังคมหลัก ๆ จะประกอบไปด้วย
- ผู้ประกันตน
- นายจ้าง
- รัฐบาล
ประกันสังคม มาตรา 39 คือ การประกันตนแบบสมัครใจ
คุณสมบัติของประกันสังคม มาตรา 39
คุณสมบัติ
- ลาออกจากพนักงานเอกชนแล้ว
- เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
- ส่งเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน
- ลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน
จำนวนเงินที่ต้องส่งสมทบ : 432 บาทต่อเดือน ต้องส่งภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน
สิทธิประโยชน์
- เจ็บป่วย
- คลอดบุตร
- สงเคราะห์บุตร
- ทุพพลภาพ
- ชราภาพ
- เสียชีวิต
วิธีสมัคร
- สมัครด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ