หากพูดถึงวรรณคดี ในยุครัชสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ หลายคนคงไม่อาจปฏิได้ว่านี่คือผลงานชิ้นเอกประจำยุค ซึ่งประพันธ์ขึ้นโดย พระสุนทรโวหาร หรือ สุนทรภู่ ซึ่งใช้เวลาแต่งไปทั้งหมด ประมาณ 20 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2364–2366 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2388

เรื่องย่อ
เรื่องราวส่วนใหญ่ของวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณีนั้นจะเป็นการเล่าเรื่องราวของตัวเอกของเรื่องอย่าง “พระอภัยมณี” นับแต่อายุได้ 15 ปีและออกเดินทางไปศึกษาวิชาความรู้เช่นเดียวกับเจ้าชายในวรรณคดีไทยอื่น ๆ แต่วิชาที่พระอภัยมณีไปศึกษามา มิใช่วิทยาอาคมหรือความรู้เกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง กลับเป็นวิชาดนตรีคือ การเป่าปี่
ทำให้พระบิดากริ้วมากจนขับไล่ออกจากเมือง การผจญภัยของพระอภัยมณีก็เริ่มขึ้นนับแต่นั้น พระอภัยกับพระอนุชาคือ ศรีสุวรรณ ระเหเร่ร่อนไปจนเจอกับสามพราหมณ์ ถูกนางผีเสื้อสมุทรจับตัวไป อยู่กินกันจนมีบุตรชายชื่อสินสมุทร ได้พ่อเงือกแม่เงือกช่วยพาหนีไปยังเกาะแก้วพิสดาร และไปร่วมสังวาสกับอมนุษย์อีกครั้งคือกับนางเงือก ได้บุตรชายชื่อสุดสาคร
ต่อมาพระอภัยมณีได้รับความช่วยเหลือจากเจ้ากรุงผลึกและรักกันกับลูกสาวของเจ้ากรุง คือ นางสุวรรณมาลี แต่นางมีคู่หมั้นแล้วกับชาวต่างชาติแห่งเกาะลังกา ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดสงครามใหญ่ระหว่างกรุงผลึกกับกรุงลังกาเป็นเวลานานหลายปี แต่ในที่สุดสงครามก็ยุติลงได้เมื่อ นางละเวงวัณฬา ลูกสาวเจ้ากรุงลังกาซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองสาวสวย ตกหลุมรักกับพระอภัยมณีเสียเอง หลังสงคราม พระอภัยมณีปลงได้กับความไม่แน่นอนของโลกมนุษย์และออกบวช
โดยมีภรรยามนุษย์ทั้งสองคนคือนางสุวรรณมาลีกับนางละเวงออกบวชด้วย เรื่องราวในช่วงหลังของ พระอภัยมณี เป็นการผจญภัยของรุ่นลูก ๆ ของพระอภัยมณี โดยมีสุดสาครกับนางเสาวคนธ์เป็นตัวละครหลัก เรื่องราวของสุดสาครโดยเฉพาะในช่วง กำเนิดสุดสาคร (พระอภัยมณี ตอนที่ 24-25) นับว่าเป็นวรรณกรรมเยาวชนที่โด่งดังมากอีกชุดหนึ่ง
พระอภัยมณี จัดได้ว่าเป็นผลงานชิ้นเอกที่สุดของสุทรภู่เลยก็ว่าได้ ด้วยเรื่องราวที่มีความแฟนตาซี แหวกแนวกว่าวรรณคดียุคก่อนๆ มีตัวละครที่หลากหลายชนเผ่า ชนชาติ นักวิชาการจำนวนมากต่างก็ได้ศึกษาวรรณคดีชิ้นนี้ของสุนทรภู่กันอย่างสนใจ เพราะแฝงไปด้วยประวัติศาสตร์มากมายที่สอดแทรกเอาไว้โดยอิงจากสถาการณ์บ้านเมืองปัจจุบันในขณะนั้น
เมื่อเข้าสู่ยุคของการพิมพ์ พระอภัยมณี ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวงกว้างยิ่งขึ้นโดยโรงพิมพ์ของหมอสมิท ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความนิยมของเรื่องมีมากขนาดที่หมอสมิทสามารถจำหน่ายนิทานคำกลอนเรื่องนี้ขายดิบขายดีจนมีเงินสร้างตึกได้ ในยุคต่อมา มีการดัดแปลงและถ่ายทอดวรรณกรรมชิ้นนี้ออกไปในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องเล่า ร้อยแก้ว การ์ตูน รวมทั้งภาพยนตร์และละคร บทกลอนหลายช่วงในเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับคัดเลือกให้บรรจุอยู่ในแบบการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ กลายเป็นคติสอนใจที่ผู้คนทั่วไปจดจำกันได้

ลักษะการประพันธ์ของ “พระอภัยมณี”
พระอภัยมณี ส่วนใหญ่ถูกประพันธ์เป็นกลอนสุภาพทั้งหมด ด้วยเป็นความถนัดอย่างพิเศษของกวีผู้นี้ ภาษาที่ใช้มีความเรียบง่ายตามแบบฉบับของสุนทรภู่ มีสัมผัสในไพเราะงดงามโดยตลอด ทำให้เป็นที่นิยมอ่านเรื่อยมาแม้ในปัจจุบัน
พระอภัยมณี ตามฉบับพิมพ์ของหอพระสมุด มีความยาวทั้งสิ้น 24,500 คำกลอน คิดเป็นจำนวนคำตามวจีวิภาคได้ 392,000 คำ แต่หากนับตามความยาวฉบับเต็ม (ซึ่งรวมส่วนที่สุนทรภู่แต่งเพิ่มตามรับสั่งของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ) จะมีความยาวถึง 48,686 คำกลอน นับเป็นหนังสือกลอนขนาดมหึมา และเป็นมหากาพย์คำกลอนที่ยาวมากที่สุดในโลกเรื่องหนึ่งที่ประพันธ์โดยกวีท่านเดียว ในส่วนของการดำเนินเนื้อเรื่อง
พระอภัยมณี มีโครงเรื่องย่อย ๆ แทรกไปตลอดทางคือจากเหตุการณ์หนึ่งนำไปสู่เหตุและผลอีกเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งเป็นลักษณะงานเขียนที่สามารถเขียนไปได้เรื่อย ๆ อย่างไรก็ดีอาจนับเหตุการณ์สำคัญหรือไคลแมกซ์ของเรื่องได้ ในตอนทัพลังกากับทัพพระอภัยมณีรบกันจนถึงขั้นเด็ดขาด ต้องแหลกลาญกันไปข้างใดข้างหนึ่ง แต่สุนทรภู่ก็สามารถคลี่คลายไคลแมกซ์นี้ได้อย่างสวยงาม
พระอภัยมณี มีจำนวนตอนทั้งหมด 64 ตอน ดังนี้
- พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณเรียนวิชา
- นางผีเสื้อลักพระอภัยมณี
- ศรีสุวรรณเข้าเมืองรมจักร
- ศรีสุวรรณพบนางเกษรา
- ศรีสุวรรณเกี้ยวนางเกษรา
- ศรีสุวรรณรบท้าวอุเทน
- ศรีสุวรรณพยาบาลนางเกษรา
- อภิเษกศรีสุวรรณ
- พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ
- พระอภัยมณีได้นางเงือก
- นางสุวรรณมาลีไปเที่ยวทะเล
- พระอภัยมณีพบนางสุวรรณมาลี
- พระอภัยมณีโดยสารเรือนางสุวรรณมาลี
- พระอภัยมณีเรือแตก
- สินสมุทรโดยสารเรือโจรสุหรั่ง
- สินสมุทรพบศรีสุวรรณ
- ศรีสุวรรณกับสินสมุทรตามพระอภัยมณี
- พระอภัยมณีโดยสารเรืออุศเรน
- พระอภัยมณีพบศรีสุวรรณกับสินสมุทร
- สินสมุทรรบกับอุศเรน
- พระอภัยมณีเกี้ยวนางสุวรรณมาลี
- พระอภัยมณีครองเมืองผลึก
- พระอภัยมณีอภิเษกกับนางสุวรรณมาลี
- กำเนิดสุดสาคร
- สุดสาครเข้าเมืองการะเวก
- อุศเรนตีเมืองผลึก
- เจ้าละมานตีเมืองผลึก
- สุดสาครตามพระอภัยมณี
- ศึกเก้าทัพตีเมืองผลึก
- พระอภัยมณีตีเมืองใหม่
- พระอภัยมณีพบนางละเวง
- ศรีสุวรรณอาสาตีด่านดงตาล
- ย่องตอดสะกดทัพ
- นางละเวงคิดหย่าทัพ
- พระอภัยมณีติดท้ายรถ
- พระอภัยมณีทำผูกคอตายได้นางละเวง
- ศรีสุวรรณกับสินสมุทรถูกทำเสน่ห์
- นางสุวรรณมาลีข้ามไปเมืองลังกา
- นางสุวรรณมาลีมีสารตัดพ้อ
- สุดสาครถูกเสน่ห์
- นางสุวรรณมาลีหึงหน้าป้อม
- หัสไชยแก้เสน่ห์
- นางเสาวคนธ์ยิงแก้ม
- กษัตริย์สามัคคี
- นางเสาวคนธ์ขุดโคตรเพชร
- พระอภัยมณีกลับเมือง
- อภิเษกสินสมุทร
- นางเสาวคนธ์หนี
- นางเสาวคนธ์แปลงเป็นฤๅษี
- นางเสาวคนธ์ได้เมืองวาหุโลม
- สุดสาครตามนางเสาวคนธ์
- พระอภัยมณีทำศพท้าวสุทัศน์
- มังคลาครองเมืองลังกา
- มังคลาชิงโคตรเพชร
- มังคลาจับนางสุวรรณมาลีและท้าวทศวงศ์
- หัสไชยตีด่านเมืองลังกา
- สุดสาครรบกับมังคลา
- นางละเวงช่วยนางสุวรรณมาลีและท้าวทศวงศ์
- พระอภัยมณี ศรีสุวรรณไปเมืองลังกา
- พระอภัยมณีรบกับมังคลา
- สังฆราชบาทหลวงเผาเมืองลังกา
- พระอภัยมณีเข้าเมืองลังกา
- อภิเษกหัสไชย
- พระอภัยมณีออกบวช
ข้อมูล Wikipedia